Three worlds of Buddhism scripture
ไตรภูมิกถา หรือไตรภูมิพระร่วง เป็นวรรณกรรมชิ้นเอกสมัยกรุงสุโขทัยนับเป็นวรรณคดีเรื่องแรกของไทย เป็นพระราชนิพนธ์ใน สมเด็จพระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช หรือพระมหาธรรมราชาลิไทย เป็นวรรณคดีไทยที่มีอิทธิพลต่อสังคมไทย ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยามาจนถึงปัจจุบัน เพราะได้รวบรวมเอาคติความเชื่อทุกแง่ทุกมุมของทุกชนชั้นหลายเผ่าพันธุ์มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวให้ผู้อ่านผู้ฟังยำเกรงในการกระทำบาปทุจริต และเกิดความปิติยินดีในการทำบุญทำกุศล อาจหาญมุ่งมั่นในการกระทำคุณงามความดี
พระมหาธรรมราชาลิไทย มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาอนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ พระยาลิไทย อุปราชผู้ครองนครศรีสัชนาลัย ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้น มีสาระสำคัญ คือ ทรงพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว
กามภูมิ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อบายภูมิ และสุคติภูมิ
อบายภูมิ ยังแบ่งออกเป็นสี่ภูมิได้แก่ นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสูรกายภูมิ
นรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ๆ ได้ แปดขุมด้วยกัน คือ
- สัญชีพนรก มีอายุ ๕๐๐ ปี นรก (๑ วันเท่ากับ ๙ ล้านปีของมนุษย์)
- กาฬสุตตนรก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- สังฆาฏนรก มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๑๔๕ ล้านปีของมนุษย์)
- โรรุวะนรก มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาโรรุวะนรก มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีของมนุษย์)
- ตาปนรก มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากัย ๙,๒๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาตาปนรก มีอายุยาวนานนับไม่ถ้วน
- อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก มีอายุนับได้กัลป์หนึ่ง
ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่น จามาตกนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กันต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอกแหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น ๆ เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
สุคติภูมิ เป็นส่วนของกามาพจรภูมิ หรือ กามสุคติภูมิ แบ่งออกเป็นเจ็ดชั้น คือ มนุษย์ภูมิ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ สวรรค์ชั้นตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์ - ไตรตรึงษ์) สวรรค์ชั้นยามาภูมิ สวรรค์ชั้นตุสิตาภูมิ (ดุสิต) สวรรค์ชั้นนิมมานรดีภูมิ และสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ
กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กามภูมิสิบเอ็ดชั้น
รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่มตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่า สมมติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป หินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ หินก้อนนั้นใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้น
จากพรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น ๆ คือ พรหมชั้นอื่น ๆ มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟักครั้นหมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิดตามกรรมต่อไป
รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหมอีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้
อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มีสี่ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียกว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนวสัญญานาสัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อเสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ๆ ได้เช่นกัน
การกำเนิดของสัตว์ การเกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่สี่อย่างด้วยกันคือ
- ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
- อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
- สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป เช่น ไฮดรา อมิบา เป็นต้น
- โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีทราก ได้แก่ เปรต อสูรกาย เทวดา และพรหม เป็นต้น
การตายของสัตว์ การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
- อายุขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นอายุ
- กรรมขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นกรรม
- อุภยขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
- อุปัจเฉทกรรมขยะ เป็นการตายเพราะอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร อินิมธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณะ กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง ๆ กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
การกำหนดอายุของสัตว์และโลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติของพราหมณ์
ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานคถาว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธีตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมจารึกลงในแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ติดไว้กับผนังด้านใน ของศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ และจดไว้ในสมุดไทยอีกหลายเล่ม กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นภาษิตไทยแท้ ๆ ใช้ถ้อยคำอย่างพื้น ๆ เป็นภาษิตไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปในลักษณะกวีนิพนธ์แบบต่าง ๆ แทรกอยู่ในวรรณคดีไทยในเวลาต่อมา เมื่อพิจารณาตามรูปของวลีจะพบว่า คล้ายคลึงใกล้เคียงกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจเป็นไปได้ว่า สุภาษิตพระร่วงเดิมเป็นพระบรมราโชวาท ซึ่งพระร่วง พ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น
สุภาษิตพระร่วงเขียนเป็นร่ายสุภาพ มีรูปแบบที่กำหนดไว้ตายตัวว่าในวรรคหนึ่ง ๆ ให้ใช้คำได้วรรคละห้าคำ คำส่งสัมผัสมีรูปวรรณยุกต์ใด คำรับสัมผัสต้องมีรูปวรรณยุกต์นั้น เช่น ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า เป็นต้น
วรรณกรรมเรื่องสุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของสุโขทัย ได้รับการเรียบเรียงเป็นร่ายสุภาพ และจารึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์
ตำนานพระร่วงพระลือ พระร่วงพระลือ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมจำหลักจากงาดำของช้างเผือกเป็นศิลปะสุโขทัย ต่อมามีการหล่อด้วยสำริดศิลปะอยุธยา ลักษณะประทับยืนตรง ยกพระหัตถ์ทั้งสองตั้งเสมอพระอุระ ทรงพระมาลาที่ชาวบ้านเรียกว่าหมวกชีโบ ครองจีวรคลุมยาวถึงพระชงฆ์ องค์พระร่วงสูง ๓๘ เซนติเมตร กว้าง ๘ เซนติเมตร องค์พระลือสูง ๓๔ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
พงศาวดารเหนือกล่าวประวัติพระร่วงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยว่า พระบิดาเป็นมนุษย์พระมารดาเป็นนางนาค พระบิดาเดิมครองนครหริภุญไชย ทรงพระนามว่าอภัยคามมะนี ท่านได้ไปจำศีลภาวนาอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ได้มีนางนาคจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวเล่น ได้พบพระยาอภัยคามมะนีแล้วเกิดรักใคร่กัน ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเจ็ดวัน นางนาคก็กลับสู่เมืองบาดาล เมื่อใกล้คลอดบุตรจึงได้ขึ้นจากบาดาลไปยังภูเขาที่เคยพบพระยาอภัยคามมะนี และคลอดบุตรชาย ณ ที่นั้น แล้ววางบุตรบนผ้ากัมพล พร้อมทั้งวางพระธำมรงค์ที่ได้รับประทานจากพระยาอภัยคามมะนี อธิษฐานขอให้พ่อลูกพบกัน แล้วกลับไปบาดาล
มีพรานป่าผู้หนึ่งมาพบทารกจึงนำไปเลี้ยง เมื่อกุมารเจริญวัย เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ วันหนึ่งพระยาอภัยคามมะนี มีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชนิเวศน์เพิ่มเติม จึงประกาศให้ราษฎรไปช่วยกันตัดไม้มาสร้างถวาย พรานป่าก็ได้พาบุตรบุญธรรมไปร่วมตัดไม้ด้วย กุมารก็แสดงฤทธิ์ด้วยการใช้วาจาสิทธิ์ให้ได้ไม้มาโดยไม่ต้องลงแรงตัด ความทราบถึงพระยาอภัยคามมะนี จึงรับสั่งให้ลูกนางนาคเข้าเฝ้า เมื่อได้ซักถามประวัติจนทราบว่า เป็นพระโอรสจึงรับเข้าไว้ในเศวตฉัตร และทรงตั้งพระนามว่า อรุณกุมาร พระยาอภัย ฯ มีโอรสกับพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ฤทธิกุมาร เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย ก็ได้ทรงสู่ขอพระธิดาผู้ครองนครศรีสัชนาลัยมาอภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร เมื่อพระยาอภัย ฯ สวรรคต อรุณกุมารจึงได้ครองนครสุโขทัยสืบแทน ต่อมาเมื่อผู้ครองนครศรีสัชนาลัยสวรรคต อรุณกุมารก็ได้ครองนครศรีสัชนาลัยควบคู่กับนครสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระร่วงพระองค์ได้ทรงสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้อภิเษกสมรสกับฤทธิกุมาร และหลังจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สวรรคตแล้ว เจ้าฤทธิกุมารก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ได้พระนามใหม่ว่า พระลือ
พระร่วงส่วยน้ำ มีตำนานเรื่องพระร่วงอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า พระร่วงเป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเมืองลพบุรี ในครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมแห่งกรุงกัมพูชามีเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมาก ในจำนวนดังกล่าวมีเมืองลพบุรีอยู่ด้วย เมืองลพบุรีต้องส่งส่วยน้ำเป็นเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อนายร่วง เป็นคนมีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ เมื่อตอนที่มีอายุสิบเอ็ดปี เขาพายเรือทวนน้ำนานเข้าจึงเหน็ดเหนื่อยมากถึงกับออกปากว่า "ทำไมน้ำจึงไม่ไหลไปทางโน้นบ้าง" พอพูดขาดคำก็ปรากฏว่าสายน้ำได้ไหลย้อนกลับไปในทางที่จะไปทันที นายร่วงเมื่อรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ก็เก็บเรื่องไว้เป็นความลับไม่บอกให้ใครรู้
เมื่อนายคงเคราชราภาพลง นายร่วงจึงรับหน้าที่ส่งส่วยน้ำแทนบิดา เขาคิดหาวิธีการทำภาชนะใส่น้ำส่งเจ้ากรุงกัมพูชา เป็นภาชนะที่เบาและจุน้ำได้มากโดยใช้ไม้ไผ่มาจักสานเป็นชะลอม (ครุ) ขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปตักน้ำในทะเลชุบศร ลั่นวาจาสิทธิ์ให้น้ำไม่รั่วออกจากชะลอม น้ำก็อยู่ในชะลอมไม่รั่วไหลออกมา เมื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และทรงวิตกว่าบัดนี้มีคนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อกรุงกัมพูชา ควรที่จะกำจัดนายร่วงเสียโดยเร็ว จึงได้ตรัสสั่งให้นายเดโชชัย นายทหารคู่พระทัย ดำเนินการกำจัดนายร่วงเสีย
ฝ่ายนายร่วงเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงกัมพูชาคิดกำจัดตน จึงหลบหนีจากเมืองลพบุรีขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย นายเดโชชัย เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าก็ได้ติดตามนายร่วงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงกำแพงเมืองสุโขทัย ก็ใช้อิทธิฤทธิ์ดำดินลอดใต้กำแพงเมืองเข้ามาโผล่ขึ้นในลานวัดมหาธาตุ ขณะนั้นพระภิกษุพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ นายเดโชชัยจึงเข้าไปถามว่า รู้ไหมว่านายร่วงที่มาจากเมืองลพบุรีนั้นขณะนี้อยู่ที่ไหน พระภิกษุร่วงก็รู้ทันทีว่าคนผู้นี้ตามมาทำร้ายตน จึงได้กล่าววาจาออกไปว่า "สูจงอยู่ที่นี่เถิด รูปจะไปบอกนายร่วงให้" พอพูดขาดคำร่างของนายเดโชชัยก็กลายเป็นหินไปทันที เมื่อชาวบ้านเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระภิกษุร่วงมีวาจาสิทธิ์ สาปขอมให้กลายเป็นหินได้ จึงมีความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นแล้ว จึงได้พากันอาราธนาให้พระภิกษุร่วงลาสิกขา แล้วขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชน และบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
สำหรับรูปคนที่เป็นหินนั้น ชาวบ้านเรียกว่า ขอมดำดิน ปัจจุบันถูกคนทุบตีจนแตกหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทางราชการได้นำไปไว้ที่ศาลพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
Credit : www.heritage.thaigov.net
พระมหาธรรมราชาลิไทย มีพระปรีชารอบรู้แตกฉานในพระไตรปิฎก อรรถกถาฎีกาอนุฏีกา และปกรณ์พิเศษต่าง ๆ พระองค์ยังเชี่ยวชาญในวิชาโหราศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไสยศาสตร์จนถึงขั้นทรงบัญญัติคัมภีร์ศาสตราคมเป็นปฐมธรรมเนียมสืบต่อมา จนถึงปัจจุบัน
ในปี พ.ศ.๑๘๘๘ พระยาลิไทย อุปราชผู้ครองนครศรีสัชนาลัย ได้ทรงนิพนธ์ไตรภูมิกถาขึ้น มีสาระสำคัญ คือ ทรงพรรณาถึงเรื่องการเกิด การตาย ของสัตว์ทั้งหลายว่า การเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในภูมิทั้งสามคือ กามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ ด้วยอำนาจของบุญและบาปที่ตนได้กระทำแล้ว
กามภูมิ เป็นที่ตั้งแห่งความใคร่ แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ อบายภูมิ และสุคติภูมิ
อบายภูมิ ยังแบ่งออกเป็นสี่ภูมิได้แก่ นรกภูมิ ติรัจฉานภูมิ เปรตภูมิ และอสูรกายภูมิ
นรกภูมิ เป็นที่ตั้งของสัตว์ที่ทำบาป ต้องไปรับทัณฑ์ทรมานนานาประการ แบ่งออกเป็นขุมใหญ่ ๆ ได้ แปดขุมด้วยกัน คือ
- สัญชีพนรก มีอายุ ๕๐๐ ปี นรก (๑ วันเท่ากับ ๙ ล้านปีของมนุษย์)
- กาฬสุตตนรก มีอายุ ๑,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- สังฆาฏนรก มีอายุ ๒,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๑๔๕ ล้านปีของมนุษย์)
- โรรุวะนรก มีอายุ ๔,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๕๗๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาโรรุวะนรก มีอายุ ๘,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากับ ๒,๓๐๔ ล้านปีของมนุษย์)
- ตาปนรก มีอายุ ๑๖,๐๐๐ ปีนรก (๑ วันเท่ากัย ๙,๒๓๖ ล้านปีของมนุษย์)
- มหาตาปนรก มีอายุยาวนานนับไม่ถ้วน
- อวีจีนรก หรือ อเวจีนรก มีอายุนับได้กัลป์หนึ่ง
ในแต่ละนรกยังมีนรกบริวาร เช่น นรกขุมที่ชื่อโลหสิมพลี เป็นนรกบริวารของสัญชีพนรก ผู้ที่เป็นชู้กับสามีหรือภริยาผู้อื่น จามาตกนรกขุมนี้ จะถูกนายนิรบาลไล่ต้อนให้ขึ้นต้นงิ้วที่สูงต้นละหนึ่งโยชน์ มีหนามเป็นเหล็กร้อนจนเป็นสีแดงมีเปลวไฟลุกโชนยาว ๑๖ นิ้ว ชายหญิงที่เป็นชู้กันต้องปีนขึ้นลง โดยมีนายนิรบาลเอาหอกแหลมทิ่มแทงให้ขึ้นลงวนเวียนอยู่เช่นนี้นับร้อยปีนรก
สำหรับผู้ที่ทำบาป แต่ไม่หนักพอที่จะตกนรก ก็ไปเกิดในที่อันหาความเจริญมิได้ อื่น ๆ เช่น เกิดเป็นเปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน พวกที่พ้นโทษจากนรกแล้วยังมีเศษบาปติดอยู่ก็ไปเกิดเป็นเดรัจฉานบ้าง เป็นเปรตบ้าง เป็นอสูรกายบ้าง เป็นมนุษย์ที่ทุพพลภาพพิกลพิการ ตามความหนักเบาของบาปที่ตนได้ทำไว้
สุคติภูมิ เป็นส่วนของกามาพจรภูมิ หรือ กามสุคติภูมิ แบ่งออกเป็นเจ็ดชั้น คือ มนุษย์ภูมิ สวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกาภูมิ สวรรค์ชั้นตาวติงสาภูมิ (ดาวดึงส์ - ไตรตรึงษ์) สวรรค์ชั้นยามาภูมิ สวรรค์ชั้นตุสิตาภูมิ (ดุสิต) สวรรค์ชั้นนิมมานรดีภูมิ และสวรรค์ชั้นปรนิมมิตวสวัตดีภูมิ
กามาพจรภูมิทั้งเจ็ดชั้น เป็นที่ตั้งอันเต็มไปด้วยกาม เป็นที่ท่องเที่ยวของสัตว์ที่ลุ่มหลงอยู่ใน รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันเป็นอารมณ์อันพึงปรารถนา เมื่อรวมกับอบายภูมิอีกสี่ชั้นเรียกว่า กามภูมิสิบเอ็ดชั้น
รูปภูมิ หรือรูปาวจรภูมิ ได้แก่ รูปพรหมสิบหกชั้น เริ่มตั้งแต่พรหมปริสัชชาภูมิ ที่อยู่สูงกว่าสวรรค์ชั้นหก คือ ปรนิมมิตวสวัตดี มากจนนับระยะทางไม่ได้ ระยะทางดังกล่าวอุปมาไว้ว่า สมมติมีหินก้อนใหญ่เท่าโลหะปราสาทในลังกาทวีป หินก้อนนี้ทิ้งลงมาจากชั้นพรหมปริสัชชาภูมิ หินก้อนนั้นใช้เวลาถึงสี่เดือนจึงจะตกลงถึงพื้น
จากพรหมปริสัชชาภูมิขึ้นไปถึงชั้นที่สิบเอ็ด ชื่อชั้นอสัญญีภูมิ เป็นรูปพรหมที่มีรูปแปลกออกไปจากพรหมชั้นอื่น ๆ คือ พรหมชั้นอื่น ๆ มีรูป มีความรู้สึก เคลื่อนไหวได้ แต่พรหมชั้นอสัญญีมีรูปที่ ไม่ไหวติง ไร้อริยาบท โบราณเรียกว่า พรหมลูกฟักครั้นหมดอายุ ฌานเสื่อมแล้วก็ไปเกิดตามกรรมต่อไป
รูปพรหมที่สูงขึ้นไปจากอสัญญีพรหมอีกห้าชั้นเรียกว่า ชั้นสุทธาวาส หมายถึงที่อยู่ของผู้บริสุทธิ ผู้ที่จะไปเกิดในพรหมชั้นสุทธาวาสคือ ผู้ที่สำเร็จเป็นพระอริยบุคคลชั้นพระอนาคามี คือเป็นผู้ที่ไม่กลับมาสู่โลกนี้ต่อไป ทุกท่านจะสำเร็จเป็นพระอรหันต์แล้วนิพพานในชั้นสุทธาวาสนี้
อรูปภูมิ หรืออรูปาพาจรภูมิ มีสี่ชั้น เป็นพรหมที่ไม่มีรูปปรากฏ ผู้ที่ไปเกิดในภูมินี้คือผู้ที่บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุฌานโลกีย์ชั้นสูงสุด เรียกว่าอรูปฌานซึ่งมีอยู่สี่ระดับได้แก่ผู้ที่บรรลุอากาสานัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาอากาศเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากาสานัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุวิญญาณัญจายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาวิญญาณเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในวิญญาณัญจายตะภูมิ ผู้ที่บรรลุอากิญจัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาความไม่มีเป็นอารมณ์) จะไปเกิดในอากิญจัญญาตนะภูมิ และผู้ที่บรรลุเนวสัญญานสสัญญายตนะฌาน (ยึดหน่วงเอาฌานที่สามให้ละเอียดลงจนเป็นผู้มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีญาก็มิใช่) จะไปเกิดในแนวสัญญานาสัญญายตนะภูมิ พรหมเหล่านี้เมื่อเสื่อมจากฌานก็จะกลับมาเกิดในรูปพรหมภูมิ หรือภูมิอื่น ๆ ได้เช่นกัน
การกำเนิดของสัตว์ การเกิดของสัตว์ในสามภูมิมีอยู่สี่อย่างด้วยกันคือ
- ชลาพุชะ เกิดในครรภ์ เช่น มนุษย์และสัตว์เดรัจฉานบางชนิดที่เลี้ยงลูกด้วยนม
- อัณฑชะ เกิดในไข่ ได้แก่สัตว์เดรัจฉานบางชนิด เช่น นก สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ปลา เป็นต้น
- สังเสทชะ เกิดในเถ้าไคล ได้แก่สัตว์ชั้นต่ำบางชนิดที่ใช้การแบ่งตัวออกไป เช่น ไฮดรา อมิบา เป็นต้น
- โอปาติกะ เกิดขึ้นเอง เมื่อเกิดแล้วก็จะสมบูรณ์เต็มที่ เมื่อตายไปจะไม่มีทราก ได้แก่ เปรต อสูรกาย เทวดา และพรหม เป็นต้น
การตายของสัตว์ การตายมีสาเหตุสี่ประการด้วยกันคือ
- อายุขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นอายุ
- กรรมขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นกรรม
- อุภยขยะ เป็นการตายเพราะสิ้นทั้ง อายุ และสิ้นทั้งกรรม
- อุปัจเฉทกรรมขยะ เป็นการตายเพราะอุบัติเหตุ
นอกจากนั้นแล้ว มีการกล่าวถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกและในจักรวาล มีภูเขาพระสุเมรุราชเป็นแกนกลาง แวดล้อมด้วยกำแพงน้ำสีทันดรสมุทร และภูเขาสัตตบรรพต อันประกอบด้วย ภูเขายุคนธร อินิมธร กรวิก สุทัศนะ เนมินธร วินันตกะ และอัสสกัณณะ กล่าวถึงพระอาทิตย์ พระจันทร์ ดาวนพเคราะห์ และดารากรทั้งหลายในจักรวาล เป็นเครื่องบ่งบอกให้รู้วันเวลาฤดูกาล และเหตุการณ์ต่าง ๆ กล่าวถึงทวีปทั้งสี่ที่ตั้งอยู่รอบภูเขาพระเมรุมาศ ชมพูทวีปอยู่ทางทิศใต้กว้าง ๑๐,๐๐๐ โยชน์ มีปริมณฑล ๓๐๐,๐๐๐ โยชน์ มีแผ่นดินเล็กล้อมรอบได้ ๕๐๐ มีแผ่นดินเล็กอยู่กลางทวีปใหญ่สี่ผืน เรียกว่า สุวรรณทวีป กว้างได้ ๑,๐๐๐ โยชน์ มีประมณฑล ๓๐,๐๐๐ โยชน์ เป็นเมืองที่อยู่ของพญาครุฑ
การกำหนดอายุของสัตว์และโลกทั้งสามภูมิ มี กัลป์ มหากัลป์ การวินาศ การอบัติ การสร้างโลก สร้างแผ่นดินตามคติของพราหมณ์
ท้ายสุดของภูมิกถา เป็นนิพพานคถาว่าด้วยนิพพานสมบัติของพระอริยะเจ้าทั้งหลาย วิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุพระนิพพาน อันเป็นวิธีตามแนวทางของพระพุทธศาสนา
สุภาษิตพระร่วง เป็นวรรณกรรมจารึกลงในแผ่นศิลารูปสี่เหลี่ยมจตุรัส ติดไว้กับผนังด้านใน ของศาลาหน้าพระมหาเจดีย์หลังเหนือ วัดพระเชตุพน ฯ กรุงเทพ ฯ และจดไว้ในสมุดไทยอีกหลายเล่ม กรมศิลปากรจัดพิมพ์เป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๒ มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บัญญัติพระร่วง เป็นภาษิตไทยแท้ ๆ ใช้ถ้อยคำอย่างพื้น ๆ เป็นภาษิตไทยเก่าแก่ที่ติดปากคนไทยสืบมา และมากลายรูปไปในลักษณะกวีนิพนธ์แบบต่าง ๆ แทรกอยู่ในวรรณคดีไทยในเวลาต่อมา เมื่อพิจารณาตามรูปของวลีจะพบว่า คล้ายคลึงใกล้เคียงกับ จารึกพ่อขุนรามคำแหงอาจเป็นไปได้ว่า สุภาษิตพระร่วงเดิมเป็นพระบรมราโชวาท ซึ่งพระร่วง พ่อขุนรามคำแหง ทรงแสดงสั่งสอนประชาชนชาวไทยในครั้งนั้น
สุภาษิตพระร่วงเขียนเป็นร่ายสุภาพ มีรูปแบบที่กำหนดไว้ตายตัวว่าในวรรคหนึ่ง ๆ ให้ใช้คำได้วรรคละห้าคำ คำส่งสัมผัสมีรูปวรรณยุกต์ใด คำรับสัมผัสต้องมีรูปวรรณยุกต์นั้น เช่น ภายในอย่านำออก ภายนอกอย่านำเข้า เป็นต้น
วรรณกรรมเรื่องสุภาษิตพระร่วงเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะของสุโขทัย ได้รับการเรียบเรียงเป็นร่ายสุภาพ และจารึกเป็นวรรณกรรมลายลักษณ์
ตำนานพระร่วงพระลือ พระร่วงพระลือ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า เดิมจำหลักจากงาดำของช้างเผือกเป็นศิลปะสุโขทัย ต่อมามีการหล่อด้วยสำริดศิลปะอยุธยา ลักษณะประทับยืนตรง ยกพระหัตถ์ทั้งสองตั้งเสมอพระอุระ ทรงพระมาลาที่ชาวบ้านเรียกว่าหมวกชีโบ ครองจีวรคลุมยาวถึงพระชงฆ์ องค์พระร่วงสูง ๓๘ เซนติเมตร กว้าง ๘ เซนติเมตร องค์พระลือสูง ๓๔ เซนติเมตร กว้าง ๗ เซนติเมตร ปัจจุบันตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง
พงศาวดารเหนือกล่าวประวัติพระร่วงกษัตริย์ผู้ครองกรุงสุโขทัยว่า พระบิดาเป็นมนุษย์พระมารดาเป็นนางนาค พระบิดาเดิมครองนครหริภุญไชย ทรงพระนามว่าอภัยคามมะนี ท่านได้ไปจำศีลภาวนาอยู่บนภูเขาแห่งหนึ่ง ได้มีนางนาคจำแลงกายเป็นมนุษย์ขึ้นมาเที่ยวเล่น ได้พบพระยาอภัยคามมะนีแล้วเกิดรักใคร่กัน ได้อยู่ร่วมกันเป็นเวลาเจ็ดวัน นางนาคก็กลับสู่เมืองบาดาล เมื่อใกล้คลอดบุตรจึงได้ขึ้นจากบาดาลไปยังภูเขาที่เคยพบพระยาอภัยคามมะนี และคลอดบุตรชาย ณ ที่นั้น แล้ววางบุตรบนผ้ากัมพล พร้อมทั้งวางพระธำมรงค์ที่ได้รับประทานจากพระยาอภัยคามมะนี อธิษฐานขอให้พ่อลูกพบกัน แล้วกลับไปบาดาล
มีพรานป่าผู้หนึ่งมาพบทารกจึงนำไปเลี้ยง เมื่อกุมารเจริญวัย เป็นผู้มีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ วันหนึ่งพระยาอภัยคามมะนี มีพระราชประสงค์จะสร้างพระราชนิเวศน์เพิ่มเติม จึงประกาศให้ราษฎรไปช่วยกันตัดไม้มาสร้างถวาย พรานป่าก็ได้พาบุตรบุญธรรมไปร่วมตัดไม้ด้วย กุมารก็แสดงฤทธิ์ด้วยการใช้วาจาสิทธิ์ให้ได้ไม้มาโดยไม่ต้องลงแรงตัด ความทราบถึงพระยาอภัยคามมะนี จึงรับสั่งให้ลูกนางนาคเข้าเฝ้า เมื่อได้ซักถามประวัติจนทราบว่า เป็นพระโอรสจึงรับเข้าไว้ในเศวตฉัตร และทรงตั้งพระนามว่า อรุณกุมาร พระยาอภัย ฯ มีโอรสกับพระมเหสีอีกองค์หนึ่ง มีพระนามว่า ฤทธิกุมาร เมื่อโอรสทั้งสองเจริญวัย ก็ได้ทรงสู่ขอพระธิดาผู้ครองนครศรีสัชนาลัยมาอภิเษกสมรสกับอรุณกุมาร เมื่อพระยาอภัย ฯ สวรรคต อรุณกุมารจึงได้ครองนครสุโขทัยสืบแทน ต่อมาเมื่อผู้ครองนครศรีสัชนาลัยสวรรคต อรุณกุมารก็ได้ครองนครศรีสัชนาลัยควบคู่กับนครสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระร่วงพระองค์ได้ทรงสู่ขอพระธิดาเจ้าเมืองเชียงใหม่ ให้อภิเษกสมรสกับฤทธิกุมาร และหลังจากเจ้าเมืองเชียงใหม่สวรรคตแล้ว เจ้าฤทธิกุมารก็ได้ครองเมืองเชียงใหม่ได้พระนามใหม่ว่า พระลือ
พระร่วงส่วยน้ำ มีตำนานเรื่องพระร่วงอีกเรื่องหนึ่งกล่าวว่า พระร่วงเป็นบุตรของนายคงเครา นายกองส่งส่วยน้ำเมืองลพบุรี ในครั้งนั้นพระเจ้าแผ่นดินขอมแห่งกรุงกัมพูชามีเมืองขึ้นที่ต้องส่งเครื่องบรรณาการเป็นจำนวนมาก ในจำนวนดังกล่าวมีเมืองลพบุรีอยู่ด้วย เมืองลพบุรีต้องส่งส่วยน้ำเป็นเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี นายคงเครามีบุตรคนหนึ่งชื่อนายร่วง เป็นคนมีบุญญาธิการ มีวาจาสิทธิ์ เมื่อตอนที่มีอายุสิบเอ็ดปี เขาพายเรือทวนน้ำนานเข้าจึงเหน็ดเหนื่อยมากถึงกับออกปากว่า "ทำไมน้ำจึงไม่ไหลไปทางโน้นบ้าง" พอพูดขาดคำก็ปรากฏว่าสายน้ำได้ไหลย้อนกลับไปในทางที่จะไปทันที นายร่วงเมื่อรู้ว่าตนมีวาจาสิทธิ์ก็เก็บเรื่องไว้เป็นความลับไม่บอกให้ใครรู้
เมื่อนายคงเคราชราภาพลง นายร่วงจึงรับหน้าที่ส่งส่วยน้ำแทนบิดา เขาคิดหาวิธีการทำภาชนะใส่น้ำส่งเจ้ากรุงกัมพูชา เป็นภาชนะที่เบาและจุน้ำได้มากโดยใช้ไม้ไผ่มาจักสานเป็นชะลอม (ครุ) ขึ้นเป็นจำนวนมาก แล้วนำไปตักน้ำในทะเลชุบศร ลั่นวาจาสิทธิ์ให้น้ำไม่รั่วออกจากชะลอม น้ำก็อยู่ในชะลอมไม่รั่วไหลออกมา เมื่อนำไปถวายพระเจ้ากรุงกัมพูชาทรงเห็นเป็นที่อัศจรรย์ และทรงวิตกว่าบัดนี้มีคนมีบุญเกิดขึ้นแล้ว ถ้าปล่อยไว้จะเป็นอันตรายต่อกรุงกัมพูชา ควรที่จะกำจัดนายร่วงเสียโดยเร็ว จึงได้ตรัสสั่งให้นายเดโชชัย นายทหารคู่พระทัย ดำเนินการกำจัดนายร่วงเสีย
ฝ่ายนายร่วงเมื่อได้ทราบว่าพระเจ้ากรุงกัมพูชาคิดกำจัดตน จึงหลบหนีจากเมืองลพบุรีขึ้นมาบวชเป็นพระภิกษุที่วัดมหาธาตุ เมืองสุโขทัย นายเดโชชัย เป็นผู้มีวิชาอาคมแก่กล้าก็ได้ติดตามนายร่วงมาถึงเมืองสุโขทัย เมื่อมาถึงกำแพงเมืองสุโขทัย ก็ใช้อิทธิฤทธิ์ดำดินลอดใต้กำแพงเมืองเข้ามาโผล่ขึ้นในลานวัดมหาธาตุ ขณะนั้นพระภิกษุพระร่วงกำลังกวาดลานวัดอยู่ นายเดโชชัยจึงเข้าไปถามว่า รู้ไหมว่านายร่วงที่มาจากเมืองลพบุรีนั้นขณะนี้อยู่ที่ไหน พระภิกษุร่วงก็รู้ทันทีว่าคนผู้นี้ตามมาทำร้ายตน จึงได้กล่าววาจาออกไปว่า "สูจงอยู่ที่นี่เถิด รูปจะไปบอกนายร่วงให้" พอพูดขาดคำร่างของนายเดโชชัยก็กลายเป็นหินไปทันที เมื่อชาวบ้านเมืองสุโขทัยรู้ว่าพระภิกษุร่วงมีวาจาสิทธิ์ สาปขอมให้กลายเป็นหินได้ จึงมีความเคารพศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเจ้าเมืองสุโขทัยสิ้นแล้ว จึงได้พากันอาราธนาให้พระภิกษุร่วงลาสิกขา แล้วขึ้นครองเมืองสุโขทัย ทรงพระนามว่า พระเจ้าศรีจันทราธิบดี ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม นำความร่มเย็นเป็นสุขมาสู่ประชาชน และบ้านเมืองก็เจริญรุ่งเรืองสืบต่อมา
สำหรับรูปคนที่เป็นหินนั้น ชาวบ้านเรียกว่า ขอมดำดิน ปัจจุบันถูกคนทุบตีจนแตกหักเป็นเศษเล็กเศษน้อย ทางราชการได้นำไปไว้ที่ศาลพระแม่ย่า หน้าศาลากลางจังหวัดสุโขทัย
Credit : www.heritage.thaigov.net