Microwave Knowledge
ความรู้เกี่ยวกับเตาไมโครเวฟ
เมื่อไมโครเวฟกระทบสิ่งต่างๆ จะเกิดผลแตกต่างกันสามแบบคือ
1. สะท้อนกลับ เมื่อไมโครเวฟกระทบกับโลหะจะสะท้อนกลับออกไป จึงใช้โลหะในเตาไมโครเวฟไม่ได้ เช่น แผ่นกะดาษตะกั่ว (อลูมิเนียมฟอยด์) เป็นต้น อาหารภายในจะไม่ร้อนหรือไม่เกิดผลต่ออาหาร และอาจเกิดประกายในเตา
2. ผ่าน ทะลุเลยไป ไมโครเวฟผ่านทะลุแก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติกเข้าไปยังอาหารโดยที่แก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติกไม่ร้อน เว้นแต่เมื่อกระทบกับอาหารร้อนจึงร้อนตาม ภาชนะที่จะใช้ใส่อาหารเข้าเตาไมโครเวฟได้ดีคือ เครื่องแก้ว กระเบื้องหรือเครื่องดินเผา กระดาษ และไม้ก็ใช้ได้ดี แต่จะต้องตักใส่จานทีหลัง พลาสติกเองไม่ร้อนแต่อาจละลายเมื่อถูกกับอาหารที่ร้อนมากๆ
3. ซึม เข้าในเนื้อ อาหารมีความชื้นที่จะดูดรับไมโครเวฟ ทำให้โมเลกุลของความชื้นสั่นสะเทือนอย่างเร็วมาก เสียดสีกันจนเกิดความร้อน ทำให้อาหารร้อนได้เร็ว สามารถอุ่นอาหารสำหรับกินมื้อหนึ่งได้ในหนึ่งหรือสองนาที
ไมโครเวฟ ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกันกับคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุกับอินฟราเรด ในบรรดาพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า เรากระทบกับพลังเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ คลื่นที่ไม่ทำให้โมเลกุลแตกตัวเป็นไออ้อนหรืออนุมูล ไม่ทำให้เกิดอันตรายสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ร่างกายไม่สะสมไมโครเวฟ ต่างกับรังสีต่างๆ ที่ทำให้เกิดอนุมูล
เตาไมโครเวฟมีส่วนประกันความปลอดภัยต่างๆ ประกอบกัน ทำให้เตาไมโครเวฟเป็นเตาที่ปลอดภัย ส่วนควบคุมความปลอดภัยเหล่านี้ได้แก่
เตา
ไมโครเวฟเป็นเครื่องครัวที่จำเป็นสำหรับคนทำงาน ครัวสะอาดดีด้วย
เตาไมโครเวฟช่วยให้อาหารร้อนในเวลาเร็ว เด็กๆได้กินอาหารร้อนเหมือนทำเอง
ถ้าซื้ออาหารสำเร็จรูป เขาผัดเขาทอดมาเสร็จแล้ว เราอุ่นไม่เกินสองนาที
พวกขนมปังมีไส้และไม่มีไส้ อุ่นแค่ 20 วินาที คุณสมบัติพิเศษของเตาไมโครเวฟก็คือ รวดเร็ว รักษาคุณค่าของอาหาร สะอาด สะดวก ประหยัด ปลอดภัย ไม่ทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น ไมโครเวฟคืออะไร? ไมโครเวฟเป็นคลื่นวิทยุความถี่สูง เหมือนกับคลื่นวิทยุเอเอ็ม เอฟเอ็ม เตาไมโครเวฟทำงานคล้ายกับโทรทัศน์ ที่เปลี่ยนคลื่นวิทยุให้เป็นภาพ คลื่นไมโครเวฟสั้นกว่าคลื่นวิทยุมาก จะมีขนาดเพียงประมาณสิบสองเซนติเมตร หลอดแมกนีตรอนในเตาไมโครเวฟเปลี่ยนไฟฟ้าเป็นพลังงานไมโครเวฟ แล้วไมโครเวฟเปลี่ยนเป็นความร้อนในอาหาร ไมโครเวฟซึมเข้าในอาหาร ทำให้โมเลกุลสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง ประมาณวินาทีละ 2,450,000,000 ครั้ง (2,450 เมกกะเฮิร์ท) การเสียดสีกันจากการสั่นสะเทือนทำให้เกิดความร้อน ไมโครเวฟ ทะลุเข้าในอาหารจากด้านนอก โดยความแรงจะลดลงเรื่อยๆ จะลดพลังลงครึ่งหนึ่งเมื่อแทงเข้าไปได้สองหรือสามเซนติเมตร อาหารด้านในร้อนจากการนำความร้อนจากอาหารด้านนอก การหุงต้มเตาไมโครเวฟจึงเหมาะกับอาหารชิ้นเล็กๆ ถ้าอบอาหารก้อนใหญ่อาจจะใช้เวลาเท่าหรือมากกว่าใช้เตาธรรมดา |
เมื่อไมโครเวฟกระทบสิ่งต่างๆ จะเกิดผลแตกต่างกันสามแบบคือ
1. สะท้อนกลับ เมื่อไมโครเวฟกระทบกับโลหะจะสะท้อนกลับออกไป จึงใช้โลหะในเตาไมโครเวฟไม่ได้ เช่น แผ่นกะดาษตะกั่ว (อลูมิเนียมฟอยด์) เป็นต้น อาหารภายในจะไม่ร้อนหรือไม่เกิดผลต่ออาหาร และอาจเกิดประกายในเตา
2. ผ่าน ทะลุเลยไป ไมโครเวฟผ่านทะลุแก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติกเข้าไปยังอาหารโดยที่แก้ว ไม้ กระดาษ พลาสติกไม่ร้อน เว้นแต่เมื่อกระทบกับอาหารร้อนจึงร้อนตาม ภาชนะที่จะใช้ใส่อาหารเข้าเตาไมโครเวฟได้ดีคือ เครื่องแก้ว กระเบื้องหรือเครื่องดินเผา กระดาษ และไม้ก็ใช้ได้ดี แต่จะต้องตักใส่จานทีหลัง พลาสติกเองไม่ร้อนแต่อาจละลายเมื่อถูกกับอาหารที่ร้อนมากๆ
3. ซึม เข้าในเนื้อ อาหารมีความชื้นที่จะดูดรับไมโครเวฟ ทำให้โมเลกุลของความชื้นสั่นสะเทือนอย่างเร็วมาก เสียดสีกันจนเกิดความร้อน ทำให้อาหารร้อนได้เร็ว สามารถอุ่นอาหารสำหรับกินมื้อหนึ่งได้ในหนึ่งหรือสองนาที
ไมโครเวฟ ไม่มีอันตรายเช่นเดียวกันกับคลื่นวิทยุ ไมโครเวฟอยู่ระหว่างคลื่นวิทยุกับอินฟราเรด ในบรรดาพลังงานแม่เหล็กไฟฟ้า เรากระทบกับพลังเหล่านี้อยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ คลื่นที่ไม่ทำให้โมเลกุลแตกตัวเป็นไออ้อนหรืออนุมูล ไม่ทำให้เกิดอันตรายสะสมในเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย ร่างกายไม่สะสมไมโครเวฟ ต่างกับรังสีต่างๆ ที่ทำให้เกิดอนุมูล
เตาไมโครเวฟมีส่วนประกันความปลอดภัยต่างๆ ประกอบกัน ทำให้เตาไมโครเวฟเป็นเตาที่ปลอดภัย ส่วนควบคุมความปลอดภัยเหล่านี้ได้แก่
1. สวิตช์ที่ประตู เมื่อประตูเตายังไม่ปิดหรือเมื่อเปิดประตู เครื่องจะดับทันที
2.สวิตช์
ที่ตัวเกาะเกี่ยวประตู เป็นตัวเปิดปิดเครื่องเสริมสวิตช์ที่ประตู
ต่างทำงานเป็นอิสระจากสวิตช์ที่ประตู ถ้าประตูยังไม่ปิดสนิทเครื่องจะดับ
3.สวิตช์ที่ส่วนควบคุมเครื่อง ถ้าสวิตช์ที่หนึ่งและที่สองไม่ทำงาน สวิตช์นี้จะดับเครื่องเองโดยอัตโนมัติ
4. ประตูโลหะ ผิวด้านในของประตูเตาต้องเป็นโลหะที่สะท้อนไมโครเวฟเข้าในเตา จะไม่มีพลังงานออกมานอกเตาได้
5.แผ่นโลหะสะท้อนไมโครเวฟ อยู่ภายในประตูอีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่กำกับอีกชั้นหนึ่งให้ไมโครเวฟอยู่ภายใน
เตาไมโครเวฟช่วยในการประกอบอาหารได้หลายลักษณะ
4. ประตูโลหะ ผิวด้านในของประตูเตาต้องเป็นโลหะที่สะท้อนไมโครเวฟเข้าในเตา จะไม่มีพลังงานออกมานอกเตาได้
5.แผ่นโลหะสะท้อนไมโครเวฟ อยู่ภายในประตูอีกชั้นหนึ่ง ทำหน้าที่กำกับอีกชั้นหนึ่งให้ไมโครเวฟอยู่ภายใน
เตาไมโครเวฟช่วยในการประกอบอาหารได้หลายลักษณะ
1. ปรุงอาหารให้สุก อาหารสุกทั่วถึงกันหมด การปรุงอาหารด้วยไมโครเวฟจะใช้เวลาเพียงไม่กี่นาที และสะดวกมาก อาหารปรุงด้วยไมโครเวฟมีคุณค่าทางโภชนาการ
2. อุ่นอาหาร อาหารสำเร็จรูปบางอย่างบรรจุมาในห่อกระดาษ ใบตอง หรือถุงพลาสติกเราอาจจะใส่เข้าเตาไมโครเวฟทั้งห่อ อุ่น
รับประทานได้ร้อนๆ ถ้าเป็นพวกขนมปังที่อุ่นพอนุ่มไม่ถึงหนึ่งนาที
ที่ดีคือแก้วและกระเบื้องที่ใส่อาหารรับประทานตามปกติ จัดอาหารใส่
อุ่นแล้วรับประทานได้เลย
3. ละลายอาหารแช่แข็ง การ
ละลายอาหารด้วยวิธีปกตินั้น
สิ้นเปลืองเวลามากและทำให้สูญเสียคุณภาพอย่างไม่จำเป็น
แต่เตาไมโครเวฟจะละลายอาหารแช่แข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยังคงความสดและคุณค่าทางอาหารครบถ้วน
4. ทำให้อาหารแห้ง เตาไมโครเวฟจะทำให้อาหารร้อนขึ้นด้วยน้ำที่มีอยู่ในอาหารนั้นๆ จำนวนน้ำที่มีอยู่ก็จะระเหยไปกับไอน้ำ
ทำให้อาหารแห้งลงได้ นอกจากนั้นแบคทีเรียในอาหารจะถูกความร้อนทำลายไปพร้อมกันด้วย
เทคนิคการประกอบอาหารด้วยเตาไมโครเวฟ
ก) การเตรียมอาหาร
- พยายามตัดอาหารให้มีขนาดต่างๆกัน
- ควรจัดเรียงอาหารที่มีขนาดเท่ากัน วางให้เป็นระเบียบ อย่าวางซ้อนกัน
- อาหารที่สุกง่ายควรใส่ทีหลัง หรือนำออกจากเตาก่อน
- หากใช้ภาชนะทรงสูงเตรียมอาหารเหลว ควรหุ้มส่วนบนด้วยอลูมิเนียมฟอยด์ เพื่อช่วยส่วนบนให้สุกช้าลง
ข) ขณะประกอบอาหาร
ค) การคำนวนเวลาในการประกอบอาหาร
|
credit : http://www.verasu.com/knowledge_detail.php?knowledge_id=44&search_key=&sort_by=&page=
|
Comments
Post a Comment