transmission control protocol internet protocol

Protocol
  • หมายถึง : วิธีการรับส่งข้อมูล  (ระเบียบวิธีการรับส่งข้อมูลกฎ กติกา มารยาท)
  • เครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีการติดต่อสื่อสาร มีการรับ-ส่งข้อมูลกันตลอดเวลา 
  • จำเป็นต้องมีกฎ กติกา เพื่อให้ติดต่อสื่อสาร รับ-ส่งข้อมูลกันได้โดยไม่จำกัดระบบปฏิบัติการ 

ตัวอย่างโปรโตคอลที่ใช้ในระบบปฏิบัติการเครือข่าย

  • ระบบเครือข่าย (Network) ใช้ ATM Protocol, Ethernet Protocol  
  • เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ใช้
    • TCP/IP Protocol เป็นโปรโตคอล (หลัก) หรือมาตรฐานในการรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
  • นอกจาก TCP/IP ที่เป็น Protocol หลักแล้ว ยังมี Protocol อื่นๆ อีก
    •  FTP Protocol : เป็นมาตรฐานการรับส่งแฟ้มข้อมูล (Software,  Data file) 
    • HTTP Protocol : เป็นมาตรฐานการส่งข้อมูลที่อยู่ในรูปของ Web  หรือ WWW (World Wide Web)

TCP/IP :

  • หมายถึง มาตรฐานการรับส่งข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
  • อินเทอร์เน็ตใช้โปรโตคอล TCP/IP : Transmission Control Protocol / Internet Protocol

TCP : หมายถึง มาตรฐานการจัดการข้อมูลเพื่อส่งในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

IP : หมายถึง มาตรฐานการจัดการที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต

  • ถ้าเปรียบเทียบกับระบบไปรษณีย์ 
  • ระบบไปรษณีย์
เนื้อหาของจดหมายซองจดหมายที่ระบุชื่อผู้รับ-ผู้ส่ง
  • ระบบอินเทอร์เน็ต
TCPIP

TCP : ข้อกำหนดของ TCP

  • ข้อมูล (Text, graphic, multimedia)  จะแยกออกเป็น packet
  • แต่ละ packet สามารถแยกส่งคนละเส้นทางได้
  • แต่ละ packet จะส่งตาม IP  (ที่อยู่) ที่กำกับไว้กับทุก packet  
  • เมื่อข้อมูลถึงปลายทาง TCP จะตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล หากผิดพลาด ก็ขอให้ส่งเฉพาะpacket ที่เสียหายมาใหม่  

IP : ข้อกำหนดของ IP

  • คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ต จะใช้หมายเลขรหัสประจำเครื่องเพื่อบอกถึงที่อยู่ (บ้านต้องมีเลขที่)
  • รหัสประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ จะต้องไม่ซ้ำกัน (บ้านเลขที่ต้องไม่ซ้ำกัน)
  • หมายเลขประจำตัวเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าอินเทอร์เน็ต 
    • เช่น 202.12.97.2 (เครื่องแม่ข่าย Webpage ของมหาวิทยาลัย)
  • โดยมีลักษณะเป็นกลุ่มของตัวเลขจำนวน 4 กลุ่ม ถูกแบ่งหรือคั่นด้วยเครื่องหมายจุด
    • แต่ละส่วนคือเลขฐานสองแปดหลัก (28 แทนค่าได้ 256 ค่า)
    • ตัวเลขภายในแต่ละกลุ่มมีได้ตั้งแต่ 0-255
  • ตัวเลข IP สามารถใช้กำหนดรหัสให้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ประมาณ 4 พันล้านเครื่อง (ซึ่งน่าจะเพียงพอต่อปริมาณเครื่องที่ใช้งานในโลก)
    • 256 x 256 = 65,536 เครื่อง
    • 256 x 256 x 256 = 16,777,216 เครื่อง
    • 256 x 256 x 256 x 256 = 4,294,967,296  เครื่อง

TCP/IP ดีอย่างไร

  • ถ้ายังรับข้อมูลไม่ครบถ้วน แต่เส้นทางเดิมมีปัญหา และมีเส้นทางส่งข้อมูลอื่น  ผู้ใช้จะยังคงได้รับข้อมูล
  • ถ้าข้อมูลที่ได้รับเสียหายบางส่วน ระบบจะติดต่อขอรับข้อมูลใหม่เฉพาะส่วนที่เสียหาย
  • การรับ-ส่งข้อมูลเฉพาะส่วนที่เสียหาย ทำให้ลดภาระโดยรวมของระบบอินเทอร์เน็ต 
TCP/IP เป็นระบบโปรโตคอล การสื่อสารพื้นฐานของระบบอินเตอร์เน็ต มันสามารถใช้เป็น โปรโตคอลในการสื่อสารภายใน เครือข่ายส่วนบุคคล เรียกว่า intranet และ extranet เมื่อมีการติดต่อโดยตรงกับ internet เครื่องคอมพิวเตอร์จะได้รับการคัดลอกโปรแกรม TCP/IP เช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์อื่น ๆ เพื่อทำให้ส่งข้อความขอรับสารสนเทศ 
TCP/IP เป็นโปรแกรม 2 เลเยอร์ TCP (Transmission Control Protocol) เป็นเลเยอร์ที่สูงกว่า ทำหน้าที่จัดการแยกข้อความหรือไฟล์แลปรกอบให้เหมือนเดิม IP (Internet Protocol) เป็นเลเยอร์ที่ต่ำกว่า ทำหน้าที่จัดการส่วนของที่อยู่ของแต่ละชุดข้อมูล เพื่อทำให้มีปลายทางที่ถูกต้อง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็น Gateway บนเครือข่ายจะตรวจที่อยู่นี้เพื่อหาจุดหมายในการส่งข้อความ ชุดข้อมูลอาจจะใช้เส้นทางไปยังปลายทางต่างกัน แต่ทั้งหมดจะได้รับการประกอบใหม่ที่ปลายทาง

TCP/IP ใช้ในแบบ client/server ในการสื่อสาร (ระหว่างคอมพิวเตอร์) ซึ่งผู้ใช้คอมพิวเตอร์ (client) เป็นผู้ขอและการบริการได้รับจากคอมพิวเตอร์เครื่องแม่ข่ายในระบบเครือข่าย การสื่อสารของ TCP/IP เป็นแบบจุดต่อจุด (point -to- point) หมายความว่าการสื่อสารแต่ละครั้งเกิดจากจุดหนึ่ง (เครื่อง host เครื่องหนึ่ง) ไปยังจุดอื่นหรือเครื่อง host เครื่องอื่นในเครือข่าย TCP/IP และโปรแกรมประยุกต์ระดับสูงอื่น ที่ใช้ TCP/IP สามารถเรียกว่า “Stateless” เพราะการขอแต่ละ client ได้รับการพิจารณาเป็นการขอใหม่โดยไม่สัมพันธ์กับการขอเดิม (แต่แตกต่างจากการสนทนาทางโทรศัพท์) การที่เป็นพาร์ทของเครือข่ายอิสระแบบ “Stateless” ดังนั้นทุกคนสามารถใช้พาร์ทได้อย่างต่อเนื่อง (หมายเหตุ เลเยอร์ของ TCP จะไม่ “Stateless” ถ้ายังทำการส่งข้อความใดข้อความหนึ่ง จะทำการส่งจนกระทั่งชุดข้อมูลนั้นได้รับครบชุด)

ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต จำนวนมากคุ้นเคยกับการประยุกต์เลเยอร์ระดับสูง โดยใช้ TCP/IP เพื่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ท ทั้งนี้รวมถึง World Wide Web’s Hypertext Transfer Protocol (HTTP), File Transfer Protocol (FTP) ซึ่งในการเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์ในระยะไกล และ Simple Mail Transfer Protocol (SMTP) Protocol เหล่านี้ จะเป็นชุดเดียวกับ TCP/IP ในลักษณะ “Suite” เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล มักจะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต ผ่าน Serial Line Internet Protocol (SLIP) หรือ Point-To-Point Protocol (PPP) โปรโตคอล แบบนี้จะควบคุมชุดข้อมูลของ IP ดังนั้น จึงสามารถใช้ส่งผ่านการติดต่อด้วยสายโทรศัพท์ ผ่านโมเด็ม Protocol ที่สัมพันธ์กับ TCP/IP ได้แก่ User Datagram Protocol (UDP) สำหรับใช้แทน TCP/IP ในกรณีพิเศษ ส่วนโปรโตคอลอื่นที่ใช้โดยเครื่อง host ของเครือข่ายสำหรับการแลกเปลี่ยนสารสนเทศกับ router ได้แก่ Internet Control Message Protocol (ICMP) Interior Gateway Protocol (IGP) Exterior Gateway Protocol (EGP) และ Border Gateway Protocol (BGP)


credit : http://home.kku.ac.th/hslib/412141/internet/internetProtocol.htm
http://www.bcoms.net/dictionnary/detail.asp?id=547

Comments